วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

no body






การเพิ่มขนาดเซลล์


เป็นกระบวนการสะสมและสังเคราะห์สารอินทรีย์ภายโมเลกุลของเซลล์ ทำให้โมเลกุลมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือมีการรวมกันระหว่างโมเลกุลกับโมเลกุล เป็นผลให้เซลล์ต้องขยายขนาดตามไปด้วย จึงเกิดการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต เช่นงูจะมีการลอกคราบเมื่อมีขนาดตัวใหญ่ขึ้น
ถึงแม้นมันจะเป็นงูยักษ์ แต่ช่วงชีวิตของมันน่าสนใจไม่น้อย อานาคอนด้าจะผสมพันธุ์ด้วยการที่ตัวผู้จะรัดตัวเมีย แล้วฉีดนำเชื้อเข้าไป ตัวเมียจะตั้งท้องนานประมาณ 2 เดือน เมื่อคลอดลูกมันจะคลอดลูกเป็นตัวซึ่งแปลกกว่างูทั่วไปซึ่งคลอดลูกเป็นไข่ เมื่อลูกมันออกมาจะออกมาเยอะมากๆ ซึ่งจะมีบางตัวที่ตาย และตัวที่ตายนั่นแหละจะเป็นอาหารของแม่มัน(ซวยไปเลย)แต่ถ้าแม่มันงับตัวที่ยังไม่ตายเข้าไป ลูกของมันจะสบัดตัว แล้วแม่มันจะรีบคายทันที แต่กว่าที่ลูกมันจะโตและรอดมาเป็นตัวเต็มวัยได้ มันก็ต้องเจอศัตรูมากมาย ซึ่งมีเพียงไม่ถึง10%เท่านั้นที่รอดมาได้ เมื่อมันโตเต็มวัยมันก็พร้อมที่จะผสมพันธุ์ทันทีและมีลูกต่อไป

การเจริญเติบโตของสัตว์

สิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดขึ้นมาแล้วย่อมต้องมีการเจริญเติบโต สัตว์ก็เช่นเดียวกันย่อมจะมีการเจริญเติบโต ซึ่งจะเป็นกระบวนการในการเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่าง ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มจำนวนเซลล์ด้วยการแบ่งเซลล์ที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งมีการขยายขนาดของเซลล์ด้วยการสร้างไซโทพลาสซึมทำให้เซลล์มีขนาดใหญ่โตขึ้น ในลำดับต่อมาเซลล์ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและหน้าที่ จนกระทั่งรวมกลุ่มประสานงานในหน้าที่จนเกิดเป็นอวัยวะหลายๆ อวัยวะ อวัยวะต่างๆ เหล่านี้รวมตัวกันเป็นร่างกายของสิ่งมีชีวิต เพื่อดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมต่อไป
............... อย่างไรก็ตามในขณะที่สัตว์กำลังเจริญเติบโต สัตว์บางชนิดจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นระยะๆ จนกระทั่งมีรูปร่างคล้ายพ่อแม่ในที่สุด แต่สัตว์บางชนิดจะมีรูปร่างเหมือนพ่อแม่ตั้งแต่เกิดเลย เพียงแต่มีขนาดเล็กกว่าพ่อแม่เท่านั้นการเจริญเติบโต เป็นขวนการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตทุกระดับ ทั้งทางโครงสร้างและหน้าที่ กระบวนการต่างๆ ของการเจริญเติบโต แบ่งได้เป็นขั้นตอนง่ายๆ คือ

ระบบนิเวศ

เซลล์ (ชีววิทยา)


ในทางชีววิทยา เซลล์ (cell) เป็นโครงสร้างและหน่วยทำงานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิด ในบางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยที่เป็นองค์ประกอบของชีวิต ("building blocks of life") สิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น แบคทีเรีย ประกอบด้วยเซลล์เพียง 3 เซลล์ (unicellular) แต่สัตว์หลายชนิด เช่น มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular) (มนุษย์มีเซลล์อยู่ประมาณ 100 ล้านล้าน หรือ 1014 เซลล์)

ทฤษฎีเซลล์ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) โดยแมตเทียส จาคอบ ชไลเดน (Matthias Jakob Schleiden) และ ทีโอดอร์ ชวานน์ (Theodor Schwann) ได้อธิบายว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดประกอบด้วยเซลล์หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า เซลล์ทั้งหมดมีกำเนิดมาจากเซลล์ที่มีมาก่อน (preexisting cells) ระบบการทำงานเพื่อความอยู่รอดของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเซลล์ และภายในเซลล์ยังประกอบด้วยข้อมูลทางพันธุกรรม (hereditary information) ซึ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมการทำงานของเซลล์ และการส่งต่อข้อมูลทางพันธุกรรมไปยังเซลล์รุ่นต่อไป

คำว่า เซลล์ มาจากภาษาละตินที่ว่า cella ซึ่งมีความหมายว่า ห้องเล็กๆ ผู้ตั้งชื่อนี้คือโรเบิร์ต ฮุก (Robert Hooke) เมื่อเขาเปรียบเทียบเซลล์ของไม้คอร์กเหมือนกับห้องเล็กๆ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพระ